W3C
fontsizes fontsizem fontsizel
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์



 
ที่มา : น.ส. อัจฉรา เอื้ออนุกูลพงษ์
 
 
          ในปัจจุบันสหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ เพื่อลดต้นทุนจากการซื้ออาหารสัตว์จากบุคคล
อื่น
และสูตรอาหารสัตว์เป็นไปตามความต้องการของสมาชิก การผลิตอาหารสัตว์แต่ละครั้งสหกรณ์จะใช้วัตถุดิบที่
แตกต่าง
ออกไปทั้งที่เป็นหัวและเป็นเม็ด เช่น มันเส้น ข้าวโพด เป็นต้น ดังนั้นต้องแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นผง หรือ
มีลักษณะ
เดียวกัน เพื่อให้การผลิตหรือผสมอาหารสัตว์ได้คุณภาพยิ่งขึ้น การผลิตอาหารสัตว์สหกรณ์ใช้วิธีโม่หรือ
เครื่องย่อย
วัตถุดิบให้เป็นผงก่อนที่จะไปสู่กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ ในการผลิตอาหารสัตว์โดยทั่วไปแล้วจำเป็น
ต้องควบคุมการ
ผลิตให้เป็นไปตามสูตรอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจจะมีผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงที่บริโภคได้ หาก
จำเป็นต้องเปลี่ยนวัตถุดิบ
บางตัวที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ก็ใช้วัตถุดิบที่มีคุณค่าอาหารใกล้เคียงกันมากที่สุด
ดังนั้น โดยปกติสหกรณ์จะมี
การกำหนดสูตรอาหารสัตว์ไว้ล่วงหน้า พร้อมทั้งกำหนดวัตถุดิบที่สามารถทดแทนกันได้
ในการดำเนินธุรกิจผลิตอาหาร
สัตว์สหกรณ์จะเตรียมวัตถุดิบเข้ากระบวนการผลิตอาหารสัตว์โดยจะจัดเก็บวัตถุดิบไว้
ในโกดังหรือไซโล ในการวางระบบ
บัญชีให้แก่สหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์จะต้องคำนึงถึงการควบคุม
ภายในของสหกรณ์แต่ละแห่งด้วย ซึ่งในที่นี้
ไม่ขอกล่าวถึง
 
ระบบบัญชีด้านการผลิตอาหารสัตว์
          สหกรณ์จะบันทึกรายการที่เกิดขึ้นในธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งจะมีรายการทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่ การ
ซื้อ
วัตถุดิบ การขายวัตถุดิบและขายอาหารสัตว์สำเร็จรูป โดยจะบันทึกรายการในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น คือ สมุด
ซื้อ
สินค้า และสมุดขายสินค้า แล้วผ่านรายการบัญชีจากสมุดบันทึกรายการขั้นต้นไปยังสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย ได้แก่ สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีย่อย ทั้งนี้เจ้าหน้าที่บัญชีผลิตอาหารสัตว์มิได้เป็นผู้บันทึกรายการ
ดังกล่าว แต่
ฝ่ายบัญชี (สมุห์บัญชี) ของสหกรณ์จะเป็นผู้รับผิดชอบในการบันทึกรายการ ส่วนทะเบียนคุมสินค้า
(บัญชีสินค้าและ
วัตถุดิบ) เจ้าหน้าที่บัญชีฝ่ายผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้บันทึกรายการ
 
รายงานทางบัญชี
          รายงานทางการเงินจัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็นและเป็นประโยชน์แก่คณะกรรมการ ผู้จัดการในการที่จะ
นำไป
วางแผน ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเหมาะสมและรัดกุม ซึ่ง
ประกอบด้วย
รายงานต่าง ๆ ดังนี้
1. รายงานการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตอาหารสัตว์ว่าเป็นชนิดใด
    และมี
ปริมาณเท่าใด ตลอดจนรายละเอียดการใช้วัตถุดิบและต้นทุนการผลิต
2. รายงานการเดินเครื่องอัดเม็ด (กรณีสหกรณ์ใช้เครื่องจักรในการผลิตอาหารสัตว์ ) เพื่อให้ทราบถึง
    กำลัง
การผลิตของเครื่องจักรต่อชั่วโมง จำนวนผลผลิตที่ได้ เวลาที่ใช้ในการผลิต สามารถนำไปใช้
    ประโยชน์ในการหา
ต้นทุนการผลิต
3. รายงานแผนกอาหารสัตว์ เพื่อให้ทราบถึงจำนวนอาหารที่ผลิตได้แต่ละสูตรในแต่ละวัน จำนวน
    อาหารสัตว์
ที่ขายและจำนวนอาหารสัตว์คงเหลือทั้งสิ้นถูกเก็บไว้ในคลังสินค้าที่เท่าใด
4. รายงานสินค้า - วัตถุดิบคงเหลือ เพื่อให้ทราบถึงสินค้า – วัตถุดิบคงเหลือ ณ วันสิ้นเดือน
          วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการดำเนินงานในธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ สำหรับวิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ
การดำเนิน
งานในธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ มีดังนี้
 
การซื้อวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์
 
เดบิต ซื้อสินค้า   xxx

เครดิต

เงินสด/เงินฝากธนาคาร xxx หรือ
เจ้าหนี้การค้า (กรณีซื้อเชื่อ) xxx
ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า
เดบิต เจ้าหนี้การค้า
  xxx

เครดิต

เงินสด/เงินฝากธนาคาร xxx หรือ  
การขายอาหารสัตว์
เดบิต เงินสด/ลูกหนี้การค้า
  xxx

เครดิต

ขายอาหารสัตว์ xxx
ได้รับชำระหนี้
เดบิต เงินสด
  xxx

เครดิต

ลูกหนี้การค้า xxx
         
          อนึ่ง หลังจากบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นแล้วให้ผ่านรายการไปสมุดบัญชีแยกประเภท และทะเบียนคุม
สินค้า
และบัญชีย่อยที่เกี่ยวข้อง สำหรับการจัดทำงบการเงินสหกรณ์จะต้องจัดทำงบการเงินที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด
 
การคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์
           เมื่อสิ้นสุดการผลิตอาหารสัตว์ สหกรณ์จะใช้ตารางการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ ไปคำนวณหาต้นทุนการผลิต
อาหารสัตว์ ซึ่งมีวิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ดังนี้
ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ คือ ต้นทุนของโรงงานหรือของการผลิตอาหารสัตว์ทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องโดยทางตรง
และ
ทางอ้อมกับการผลิตอาหารสัตว์ การคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ แบ่งออกเป็น
 
          1 . ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด
          การคำนวณต้นทุนตามวิธีนี้จะอาศัยข้อมูลทางบัญชีที่สหกรณ์บันทึกบัญชีไว้ในระหว่างงวด หรือเดือนที่
ต้องการ
ทราบว่าสหกรณ์ใช้วัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าโสหุ้ยการผลิตเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งคำนวณต้นทุนแต่ละ
ประเภท
ได้ดังนี้
          วัตถุดิบทางตรง วัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ เช่น มันเส้น ข้าวโพด มะพร้าว กากปาล์ม
รำหยาบ กากน้ำตาล แร่ธาตุ เป็นต้น คำนวณการใช้วัตถุดิบจากใบสั่งจ่ายวัสดุ แผนกอาหารสัตว์ หรือจากตาราง
แสดงการใช้วัตถุ
ดิบผลิตอาหารสัตว์ ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณหาต้นทุนการผลิตงวดนั้น ๆ
          ค่าแรงงานทางตรง ได้แก่เงินเดือนและค่าจ้างของเจ้าหน้าที่แผนกผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งใช้ข้อมูลทาง
บัญชีที่
สหกรณ์บันทึกไว้ โดยนำมาจากสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปในบัญชีเงินเดือนค่าแรงของฝ่ายผลิตอาหาร
สัตว์ที่เกิดขึ้น
ในระหว่างงวดที่คำนวณหาต้นทุนการผลิต
          ค่าโสหุ้ยการผลิต (ค่าใช้จ่ายในการผลิต) ต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์ทั้งหมดที่นอกเหนือจาก
วัตถุดิบทาง
ตรงและแรงงานทางตรง ซึ่งได้แก่ ของใช้สิ้นเปลือง วัตถุดิบทางอ้อม แรงงานทางอ้อม ค่าซ่อมแซม
และดูแลรักษา
ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ค่าเสื่อมราคาโรงงาน ค่าเบี้ยประกันภัย
โรงงานผลิตอาหารสัตว์
เป็นต้น ค่าโสหุ้ยการผลิตคำนวณจากบัญชีต่าง ๆ ที่จัดเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตอาหารสัตว์
ซึ่งบันทึกไว้ในสมุดบัญชี
แยกประเภททั่วไป ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณต้นทุนการผลิตนั้น
          เมื่อคำนวณส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตครบทั้ง 3 ส่วนแล้ว นำมาคำนวณต้นทุนการผลิต
 
สำหรับงวดได้ดังนี้
วัตถุดิบทางตรง                    
แรงงานทางตรง                   
ค่าโสหุ้ยการผลิต                 
รวมต้นทุนผลิตระหว่างงวด
xxx
xxx
xxx
xxx
 
          จากนั้นสามารถคำนวณต้นทุนการผลิตระหว่างงวดต่อหน่วยได้โดย นำต้นทุนการผลิตระหว่างงวดหารด้วย
จำนวนหน่วยของอาหารสัตว์ที่ผลิตเสร็จในงวดนั้น ดังนี้
 
                ต้นทุนการผลิตระหว่างงวดต่อหน่วย =                   ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด               
                                                                    จำนวนหน่วยของอาหารสัตว์ที่ผลิตเสร็จในงวดนั้น
 
        2 . ต้นทุนการผลิตวันสิ้นปีบัญชี
           การคำนวณต้นทุนการผลิต ณ วันสิ้นปีนั้น จะต้องทำการตรวจนับวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์คงเหลือ และ
อาหาร
สัตว์สำเร็จรูป เพื่อใช้ประกอบการคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ และต้นทุนขายสินค้าที่เกิดขึ้นในแต่
ละปี
           วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตวันสิ้นปีบัญชี คำนวณจากส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วน ของต้นทุนการผลิต
เช่นเดียว
กับการคำนวณต้นทุนการผลิตระหว่างงวด จะแตกต่างกันในส่วนของการตรวจนับวัตถุดิบและอาหารสัตว์
สำเร็จรูปคง
เหลือ และวิธีคำนวณต้นทุนการผลิตซึ่งคำนวณต้นทุนแต่ละประเภทได้ดังนี้
           วัตถุดิบทางตรง วัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ คำนวณจากยอดวัตถุดิบอาหารสัตว์คงเหลือ
ตาม
ที่ตรวจนับได้ พร้อมกับตีราคาวัตถุดิบคงเหลือตามหลักเกณฑ์การตีราคาสินค้าคงเหลือที่กำหนดไว้ในระเบียบ
นาย
ทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งคำนวณได้ดังนี้
 
วัตถุดิบคงเหลือต้นปี
บวก ซื้อวัตถุดิบ  
       ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ  
รวมวัตถุดิบที่มีไว้เพื่อผลิต       
หัก วัตถุดิบคงเหลือสิ้นปี (ที่ตรวจนับได้)
ต้นทุนวัตถุดิบใช้ไป         
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
 
แรงงานทางตรง ใช้เงินเดือนและค่าแรงงานของฝ่ายผลิตอาหารสัตว์ ตามที่บันทึกไว้ในสมุดบัญชีแยกประเภท
ทั่วไป
ค่าโสหุ้ยการผลิต (ค่าใช้จ่ายในการผลิต) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จัดเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตอาหารสัตว์ ได้แก่
ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง, น้ำมันเตา ค่าของใช้สิ้นเปลือง ค่าเบี้ยประกันภัย
ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย ค่าใช้จ่ายกระสอบ ดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ค่าเสื่อมราคาโรงงาน
        
วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตที่เกิดจากต้นทุนทั้ง 3 ประเภท เป็นดังนี้
 
บวก   ซื้อวัตถุดิบ         
         ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ                  
                วัตถุดิบทั้งสิ้นที่มีไว้เพื่อผลิต
หัก     วัตถุดิบคงเหลือสิ้นปี 
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
เงินเดือนและค่าจ้าง
ค่าโสหุ้ยการผลิต :
ค่าไฟฟ้า 
ค่าน้ำประปา 
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร  
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง, น้ำมันเตา 
ค่าของใช้สิ้นเปลือง 
ค่าเบี้ยประกันภัย
ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย  
ดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้     
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์
ค่าเสื่อมราคาโรงงาน  
ต้นทุนการผลิต  
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
 
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx 
xxx
 
วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตต่อหน่วยนั้น ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการคำนวณต้นทุน การผลิตระหว่างงวดต่อหน่วย คือ
ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย =                ต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น          
                                       จำนวนหน่วยของอาหารสัตว์ที่ผลิตได้
           อนึ่ง การคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ต่อหน่วยนั้น คิดรวมถึงอาหารสัตว์ที่สูญเสียในระหว่างการผลิต
ว้ด้วย สหกรณ์จะต้องคำนวณต้นทุนการผลิตที่สูญเสียโดยนำต้นทุนการผลิตต่อหน่วยคูณกับจำนวนที่สูญเสีย เพื่อ
นำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการให้ถือเป็นสินค้าเสื่อมชำรุด นอกจากนี้สหกรณ์ควรทดสอบหา
อัตราการสูญเสียไว้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการบริหารงานของสหกรณ์ต่อไป
 
 
 
**********************************
 
 
ข่าว/บทความยอดนิยม ข่าว/บทความที่คะแนนโหวตสูงสุด ข่าว/บทความล่าสุด
Learning English : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (22/03/2550)
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปี 2555
วิกฤตเศรษฐกิจกระทบเศรษฐกิจสหกรณ์ออมทรัพย์หรือไม่ อย่างไร...
บัญชีต้นทุนประกอบอาชีพช่วยเกษตรกรเรื่องภาษีได้
ผู้สอบบัญชีสหกรณ์มีบทบาทและหน้าที่ในการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์ได้อย่างไร
เสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี 2556
ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไทย ปี 2549 (28/03/2550)
กฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law)
“ขนิษฐา มะโนสมบัติ”ครูบัญชีอาสา จังหวัดเชียงรายใช้ศาสตร์พระราชานำทางชีวิต พลิกวิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
มิติทางการเงินที่มีผลต่อหนี้สินของสหกรณ์ประมงในประเทศไทย
สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของสหกรณ์ออมทรัพย์ และแนวโน้ม ปี 2568
สถานการณ์การค้าข้าวไทยและการรวบรวมผลิตผลข้าวเปลือกของภาคสหกรณ์์ไทยปี 2567
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีส่วนขาดแห่งทุน
หนี้ที่ชำระไม่ได้ตามกำหนด/NPL ภาคสหกรณ์ไทย ในไตรมาส 2/2567
สุขภาพทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์
จำนวนคนอ่าน 18160 คน จำนวนคนโหวต 24 คน

  จำนวนคนโหวต 24 คน
โหวตคะแนนให้ข่าว/บทความนี้
1 2 3 4 5

  ระดับ 

  ให้ 1 คะแนน
0%
  ให้ 2 คะแนน
0%
  ให้ 3 คะแนน
0%
  ให้ 4 คะแนน
 
29%
  ให้ 5 คะแนน
 
71%
เกี่ยวกับเรา
  • ประวัติ
  • อาคารอนุรักษ์
  • ทำเนียบอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • ผังโครงสร้างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย
  • ค่านิยมหลัก
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • ทำเนียบ / สถานที่ตั้ง

  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    สงวนลิขสิทธิ์ 2559 - กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
    ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 2016 8888 โทรสาร 0 2282 0889
     

    Valid HTML 4.01 Transitional

    การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Google Chrome และ Internet Explorer ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 650 pixel